วันที่นำเข้าข้อมูล 5 ก.ค. 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ต.ค. 2566
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ โดยเร็วที่สุด โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะแนะนำให้
- อยู่แต่ที่พักอาศัย และให้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา
- เดินทางออกนอกพื้นที่ หรือ
- ไปรวมที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด หรือจุดนัดหมายอื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะกำหนดต่อไป
สรุปสาระสำคัญของแผนอพยพคนไทยในประเทศสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย
1. กรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง/สงคราม/หรือภัยจากเหตุการณ์ก่อการร้าย
การเตรียมความพร้อมมี 4 ระดับ
1.1 ในสภาวะปกติ
- สำรวจว่าตนเองและบุคคลในครอบครัวมีเอกสารเดินทางครบถ้วน พร้อมเดินทางหากจำเป็น
- แจ้งที่อยู่และหายเลขติดต่อให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ
- ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และพบกลุ่มเพื่อนคนไทย
- พยายามติดต่อเพื่อนคนไทยสม่ำเสมอ
1.2 การเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุ
1.3 การเตรียมความพร้อมเมื่อเริ่มปรากฏเหตุการณ์ความไม่สงบ
1.4 กรณีเกิดความไม่สงบ ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้พำนักในประเทศ ถึงขั้นอพยพคนไทยออก
นอกประเทศ
- เมื่อเกิดความไม่สงบรุนแรงอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภค
มีการปล้นสะดม เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
2. กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จนถึงต้องอพยพกลับประเทศไทย
3. กรณีเกิดภัยโรคระบาดรุนแรง
- เมื่อเริ่มเกิดโรคระบาดรุนแรงในพื้นที่ จนรัฐบาลท้องถิ่นไม่สามารถควบคุม จนถึงต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน และต้องอพยพคนไทยที่ประสบภัยพิบัตินอกนอกพื้นที่ชั่วคราว หรือกลับประเทศไทย
ในสภาวะที่มีความไม่ปลอดภัย/เหตุการณ์ฉุกเฉิน
1. เตรียมเอกสารเดินทางให้พร้อมเดินทางหากจำเป็น
2. ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว
3. ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกับกลุ่มเพื่อนคนไทย ให้เพื่อนรู้ว่าเราอยู่ที่ใด ไปที่ไหน
4. สำรองอาหาร เครื่องดื่ม เชื้อเพลิง ที่จำเป็น
5. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา หลีกเลี่ยงการเดินทางในยามวิกาล
6. ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตน บุคคลที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ ควรเดินทางออกนอกพื้นที่เสี่ยง
แผนการอพยพ (โปรดศึกษารายละเอียดในแผนด้วย)
1. การอพยพกลับประเทศไทย
- โดยเครื่องบินพิเศษจากประเทศไทย
(สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการขอ Flight Clearance กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
2. การอพยพไปยังประเทศที่สามเป็นการชั่วคราว
ข้อมูลจำนวนคนไทยในสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด (รัฐปัญจาบ รัฐไคเบอร์ปัคตุงคัว เขตกิลกิต-บัลติสถาน และเขตอาซัดแคชเมียร์) สำหรับเขตอาณาของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี คือ รัฐบาโลจิสถาน และรัฐซินด์
ปัจจุบันมีคนไทยที่มารายงานตัวกับสถานเอกอัครราชทูตฯ จำนวนประมาณ 780 คน
โดยแบ่งเป็น
1) กลุ่มนักเรียนไทย มีจำนวนประมาณ 250 คน (ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในกรุงอิสลามาบัด International Islamic University Islamabad (IIUI) ประมาณ 200 คน เเละเมืองละฮอร์จำนวนประมาณ 50 คน)
2) กลุ่มคนไทยที่มาทำงานในปากีสถาน ที่พำนักอาศัยอยู่ในกรุงอิสลามาบัด เมืองละฮอร์และตามเมืองต่าง ๆ ในรัฐปัญจาบ ประมาณ 100-200 คน
*** นอกจากนี้ คาดว่า มีคนไทยเชื้อสายปากีสถานที่ถือทั้งบัตรประชาชน/หนังสือเดินทางไทยและ ปากีสถาน ที่มีถิ่นพำนักถาวรในปากีสถาน (ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองบัตตากราม รัฐไคเบอร์ปัคตุงคัว) อีกจำนวนประมาณ 400 - 1,000 คน
รายชื่อข้าราชการและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่คนไทยสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา
สถานเอกอัครราชทูต โทรศัพท์ (92-51)8431270 - 80
โทรศัพย์หมายเลขฉุกเฉิน (Hot Line) 031 59009949 ไลน์ไอดี Thai.Islamabad
1. เอกอัครราชทูต โทรศัพท์มือถือ 0300-8545939
2. นางสาวกมลวรรณ ศรีโพธิ์ศิลป์ ที่ปรึกษา 0301 5558089
3. นางสาวอวันดา อมตวิวัฒน์ ที่ปรึกษา 0324-1939254
4. นายพรณรงค์ พุทธาวัฒน์ เลขานุการเอก 0326-0306623
5. นางสาวรัชนี ศรศักดา เลขานุการโท 0311-5188923